ระบบคลัทซ์มอเตอร์ไซค์ มีหน้าที่ปลดกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังชุดเฟืองเกียร์ ซึ่งหลักการทำงานของคลัทซ์นั้นจะมีชิ้นส่วนหลัก ๆ ที่ประกอบไปด้วยสปริงคลัทซ์ แผ่นกดคลัทซ์ ผ้าคลัทซ์ แผ่นเหล็กคลัทซ์ เรือนคลัทซ์ตัวใน และเรือนคลัทซ์ตัวนอก โดยจะทำการรวมชิ้นส่วนหลัก ๆ เหล่านี้เป็นชุดเรือนคลัทซ์ ที่เป็นตัวกลางในการส่งกำลังจากเฟืองเพลาข้อเหวี่ยงผ่านไปยังที่เฟืองเกียร์ ทำให้การเปลี่ยนเกียร์มีความเสถียร สามารถเร่งเครื่องได้อย่างมั่นใจ และขับเคลื่อนได้อย่างนุ่มนวลมากยิ่งขึ้นด้วยครับ
ในปัจจุบันระบบคลัทซ์ที่นิยมนำมาใช้ จะมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ดังนี้
1. ระบบคลัทซ์ชนิดแรงเหวี่ยง มีหลักการทำงานแบบเหวี่ยงตามรอบเครื่องยนต์ที่หมุนไป หากเครื่องยนต์หมุนเพียงเล็กน้อย ตัวคลัทซ์จะไม่จับชามเพื่อไม่ให้มีแรงจากเครื่องยนต์ส่งไปที่ล้อ แต่ถ้าหากเกิดการเร่งเครื่อง ตัวคลัทซ์จะใช้แรงเหวี่ยงกางออกไปจับชามที่หุ้มไว้ ทำให้กำลังจากเครื่องยนต์ส่งไปถึงชุดเกียร์และล้อได้ในที่สุด
2. ระบบคลัทซ์จานสปริง มีหลักการคือเมื่อเหยียบคลัทซ์ก็จะทำให้แบริ่งกดไปบนจานสปริง ส่งผลให้จานสปริงงอตัวและดันแผ่นประกบให้แยกตัวออกจากล้อช่วยแรง จึงเป็นการตัดการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังเกียร์ได้ในที่สุด
- หมั่นฝึกฝนบ่อย ๆ ด้วยการใช้นิ้วชี้และกลางในการบีบคลัทซ์ บีบเสร็จแล้วปล่อยนิ้ว
- ควรใช้คลัทซ์ในการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ สูง ต่ำ และเกียร์ว่าง เท่านั้น
- ไม่ควรบีบคลัทซ์เพื่อเพิ่มรอบเครื่องยนต์ขณะขับขี่ เพราะจะส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานหนักและสิ้นเปลืองน้ำมัน
- เมื่อบีบคลัทซ์ขณะเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์เสร็จแล้ว ให้คลายมืออกจากคลัทซ์และวางไว้ที่แฮนด์ทันที
- ไม่ควรใช้มือจับคลัทซ์ตลอดเวลา เพราะถ้าหากเกิดการเบรกกะทันหันแล้วเผลอใช้มือบีบคลัทซ์ไปด้วย อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
ช่วยตัดกำลังงานเครื่องยนต์ - คลัทซ์จะทำหน้าที่ตัดหรือต่อกำลังงานระหว่างเครื่องยนต์กับเกียร์ ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงานอยู่ เพื่อส่งกำลังงานให้รถเคลื่อนที่ไปได้อย่างลื่นไหลและนุ่มนวล และไม่ให้เสียกำลังจากเครื่องยนต์จนมากเกินไป
ช่วยป้องกันการชำรุดของฟันเฟือง - เนื่องจากชุดคลัทซ์จะมีแผ่นคลัทซ์ที่ทำมาจากสาร
สังเคราะห์ผสมกับเส้นใยโลหะ ช่วยทำให้เกิดการเสียดสีที่นุ่มนวล ฟันเฟืองของเกียร์สามารถเคลื่อนที่เข้าออกได้อย่างคล่องตัวตลอดการใช้งาน
ช่วยลดการเกิดเสียงดังขณะเข้าเกียร์ - เมื่อทำการบีบคลัทซ์ ปลายของก้ามปูคลัทซ์จะเข้าไป
ดันลูกปืนคลัทซ์เพื่อกดปลายคลัทซ์ให้ถอยออกมา จากนั้นแผ่นคลัทซ์ก็จะลอยตัวเป็นอิสระ ส่งผลให้ไม่มีเสียงดังขณะเข้าเกียร์ และสามารถขับเคลื่อนได้อย่างนุ่มนวล
จะเห็นได้ว่า ระบบคลัทซ์ของมอเตอร์ไซค์นั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่ง ทำให้สามารถเปลี่ยนเกียร์ได้อย่างนุ่มนวล ล้อขับเคลื่อนได้อย่างลื่นไหลไม่มีสะดุด และที่สำคัญคุณต้องใช้คลัทซ์ใอย่างถูกวิธีมิเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับคุณได้ ด้วยความห่วงใยจาก 35 ยนตรการ