กันสะบัดแบบไหนเหมาะกับมอเตอร์ไซค์ของคุณ?

June 18, 2023

“กันสะบัด” อุปกรณ์ยอดนิยมสำหรับสายซิ่ง ผู้ที่ชอบขับรถเร็ว ๆ แรง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไซค์ทั่วหรือบิ๊กไบค์ (Big bike) ก็ต้องไม่พลาดในการติดกันสะบัด ซึ่งกันสะบัดจะมีหน้าที่ช่วยลดแรงเหวี่ยงของแฮนด์และล้อ หรือลดแรงกระชากให้รู้สึกฝืดขึ้น

การที่เราขับรถด้วยความเร็ว ตัวแฮนด์และล้อจะเกิดอาการสะบัดไปมา กันสะบัดก็จะเข้ามาช่วยบังคับให้การเลี้ยวรถมีความฝืดมากยิ่งขึ้น ทำให้คุณสามารถควบคุมทิศทางรถได้ดี รถมีความเสถียรในการทรงตัว ไม่ส่ายไปมา รวมถึงช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้อีกด้วย

แล้วคุณควรเลือกใช้กันสะบัดแบบไหนถึงจะเหมาะสมกับรถคู่ใจ? วันนี้เราจึงได้รวบรวมประเภทของกันสะบัด วิธีการเลือกใช้กันสะบัดอย่างเหมาะสม และข้อดี-ข้อเสียของกันสะบัดแต่ละประเภทมาให้ในบทความนี้ ตามมาดูกันเลยครับ

 

1. กันสะบัดแบบก้อน (Rotary Steering Damper)


กันสะบัดแบบก้อน มีรูปร่างเป็นก้อนกลม ๆ ขนาดกะทัดรัด ประกอบไปด้วยเฟือง สปริงกลไก และลูกสูบที่อยู่ภายในกันสะบัด เมื่อติดตั้งกับตัวรถมอเตอร์ไซค์แล้วจะมีความกลมกลืนกัน โดยกันสะบัดทุกแบบจะใช้ของเหลวที่เป็นน้ำมันไฮดรอลิกหรือก๊าซในการทำหน้าที่สร้างแรงต้านขึ้นมา เพื่อควบคุมให้แฮนด์กับล้อกลับมาอยู่ในสภาวะปกติ

ข้อดีของกันสะบัดแบบก้อน

- ติดตั้งได้ทันที ไม่มีความยุ่งยาก 

- มีชุดขาจับหรือจุดยึดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม

- ไม่ต้องดัดแปลงตัวรถเพื่อทำการติดตั้งกันสะบัด สำหรับมอเตอร์ไซค์ที่มีพื้นที่เพียงพอ

- กันสะบัดกลมกลืนไปกับตัวรถ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

- สปริงช่วยสร้างความหนืดได้ดีในการหักเลี้ยว การเข้าโค้ง

ข้อเสียของกันสะบัดแบบก้อน

- ราคาแพง เริ่มต้นหลักหมื่นบาท

- สปริงไม่สามารถออกแรงหน่วงได้ดีพอสำหรับการขับด้วยความเร็ว เพราะวัสดุอย่างสปริงจะมีแรงดึงที่ต่ำ จึงทำให้อาจขาดความสม่ำเสมอในเรื่องของแรงหนืด แต่ในบางกรณีอาจไม่รู้สึกว่าแรงหนืดน้อยจนส่งผลกระทบต่อการขับขี่จริง

 

2. กันสะบัดแบบแท่ง (Steering Damper)

กันสะบัดแบบแท่ง กันสะบัดยอดนิยมที่หลายคนเลือกใช้ มีรูปร่างเป็นกระบอกโช้คอัพที่สามารถสร้างความหนืดเพื่อลดการสะบัดได้เป็นอย่างดี โดยกันสะบัดทุกแบบจะใช้ของเหลวที่เป็นน้ำมันไฮดรอลิกหรือก๊าซในการทำหน้าที่สร้างแรงต้านขึ้นมา เพื่อควบคุมให้แฮนด์กับล้อกลับมาอยู่ในสภาวะปกติ

ข้อดีของกันสะบัดแบบแท่ง

- สามารถใช้ร่วมกับรถได้หลากหลายรุ่น

- มีความสม่ำเสมอในการสร้างความหนืด

- ราคาสามารถเข้าถึงได้

ข้อเสียของกันสะบัดแบบแท่ง

- ต้องหาซื้อขาจับกันสะบัดเพิ่มเติม ซึ่งขาชุดสำหรับมอเตอร์ไซค์บางรุ่นมีราคาสูง

- ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้ง จึงอาจดูเกะกะและไม่เรียบเหมือนกับกันสะบัดแบบก้อน

จะเห็นได้ว่ากันสะบัดทั้ง 2 ประเภท มีคุณสมบัติการใช้งานที่ไม่แตกต่างกันมากนัก สามารถเลือกตามความเหมาะสมและราคาที่คุณเข้าถึงได้จะดีที่สุด หากต้องการหากันสะบัดที่กลมกลืนไปกับตัวรถ เป็นระเบียบสวยงาม ก็ควรเลือกกันสะบัดแบบก้อน แต่ถ้าหากต้องการกันสะบัดที่มีราคาเข้าถึงได้ง่าย ใช้ได้กับรถหลากหลายรุ่น ไม่ต้องคิดเยอะ ก็ควรเลือกกันสะบัดแบบแท่งนั่นเองครับ ด้วยความห่วงใยจาก 35 ยนตรการ

Copyright © 2022Yontrakan All Right Reserved.